คุณวศิน ธรรมานุบาล (พี่โอม) รุ่น33
พ.ศ.2532 จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
พ.ศ.2533 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ.2538 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ปี
พ.ศ.2544 จบการศึกษาปริญญาโท ที่นิวยอร์ค มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สาขา Urban Design
ประสบการณ์การทำงาน
- บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง
- คุมงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย เรือนไทยหมู่ 1 ปี
- เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยบางมด 3 ปี
- ทำงานที่แคลิฟอร์เนีย ออกแบบอาคารบ้าน และดูแลรักษาปรับปรุง อุทยานแห่ง ชาติของที่อเมริกา 1 ปี
- ทำงานที่บริษัท บุนนาค อาร์คิเท็คส์ จำกัด 1 ปี
- ปัจจุบันเป็นเจ้าของร่วมกับคุณจงรักษ์ พฤกษ์ประเสริฐ ที่บริษัท JP Architects and Associates Ltd. และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)
ตัวอย่างผลงาน
MASTER PLANNING
LAGUNA VILLAGE HOUSING PHASE
HOSPITALITY
BANYAN TREE RESORT PHASE I & II (2 BR VILLA)
Phuket, Thailand

MAGGIA RESIDENCE,Samui, Thailand
ADAMAS (AURA RESORT & SPA)
Phuket, Thailand

COMMERCIAL
ANDAMAN BAZAAR
Phuket, Thailand

ข้อคิดสำคัญในการทำงาน การปฏิบัติตนในวิชาชีพสถาปนิกที่ดีในทัศนคติของพี่โอม
ขยัน อดทน
“ ต้องเป็นคนที่ขยัน อดทน แต่อย่าขยันแบบโง่ๆ!!นะ ต้องขยันแล้วเกิดประโยชน์ และเวลาทำงานก็ต้องจริงจังเพราะ วันนี้เราทำงาน เราเอาความสามารถมาแลกกับเงิน ไม่เหมือนกับการขอเงินพ่อแม่ ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ได้ เล่นๆก็ได้ ชีวิตจริงไม่มีใครใจดีขนาดนั้นหรอก "
อ่อนน้อม ใฝ่รู้
“ ต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ”
ซื่อสัตย์
“ อย่าทำสิ่งที่ผิดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพเรา เพราะอาจโดนริบใบประกอบวิชาชีพได้ แค่ทำให้ถูกต้องเท่านั้น “
ตรงต่อเวลา
“ เรื่องการรักษาเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานจริง เพราะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และในอนาคตหากเราต้องการก้าวหน้าในวิชาชีพ เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้องด้วย “
“ สำหรับน้องๆที่จบใหม่ พี่แนะนำว่า ถ้าเราได้ไปทำงานที่ออฟฟิสใหญ่ๆ จะดีมาก เพราะเขาจะมีระบบในการช่วยเทรน เราจะได้รู้ว่างานจริงๆต้องทำอะไร มีวิธีการอย่างไร แต่ถ้าเราจบมาใหม่ๆไปอยู่ออฟฟิสเล็กๆ ส่วนใหญ่เขาจะไม่มีเวลามาสอนเรา เพราะคนมีจำกัด อย่างน้อยเราต้องมีประสบการณ์สัก 1-2 ปี ให้สามารถทำงานได้แบบไม่ติดขัด แต่ถ้าเราอยากทำจริงๆ เราจะต้องขยันเรียนรู้ และต้องเก่งให้ได้เร็วๆ ทำให้ได้หลายๆอย่าง เพราะถ้าเราถนัดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บางทีเราอาจจะได้ทำแต่งานด้านนั้น ไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำงานด้านอื่นๆเท่าไหร่ ซึ่งทักษะเราอาจจะพัฒนาได้ช้ากว่า แต่ก็อยู่ที่ความตั้งใจจริงของเราด้วย และที่สำคัญ อย่าเพิ่งไปรับงานเอง เพราะในกระบวนการทำงาน ยังมีอะไรอีกมากที่เราต้องเรียนรู้ เราควรจะมีประสบการณ์ในการทำงานก่อน ซึ่งจะทำให้การทำงานของเราเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยลง จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเอง และลูกค้าของเรา เพราะชีวิตจริง เราต้องทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ “
ชีวิตสมัยที่เรียน ณ ลาดกระบัง
“ การเดินทางไปลาดกระบังนั้นยากมาก มีแต่ทุ่งนาสองข้างทาง เวลากลับดึกๆก็ไม่เคยจะมีรถอยากเข้ามาส่งเพราะทั้งไกลทั้งมืด ออกแนวเปลี่ยวๆ สมัยนั้นการเดินทางส่วนมากจะใช้รถไฟ บางครั้งพี่กลับดึกๆไม่มีรถ บางทีพี่ก็ต้องรอรถไฟจนถึงเช้า ใช้ชีวิตเรียบง่าย เรียกได้ว่า เหมือนอยู่ชนบทเลย สิ่งบันเทิงใจดีที่สุดอย่างมากก็คือทีวี โทรศัพท์มือถือสมัยนั้นก็ยังไม่มี จะมีก็มีแต่สาธารณะ จะไปซื้อของพี่ก็ไปที่เซเว่น ตรงซอยจินดานั่นแหละ คือห้างของพวกพี่ หรูที่สุดในย่านนี้แล้ว จะไปเที่ยวผับบาร์ แถวๆนี้ ก็ไม่ค่อยมี ถ้าไปก็ต้องนั่งรถไกล ใช้เงินมากอีก ส่วนมากเลยอยู่กันแต่ในคณะ และเพราะคนน้อยด้วย ใครทำอะไรก็จะรู้ถึงกันหมด เป็นสังคมที่ดูแลกันเหมือนพี่น้อง
นักศึกษาในสมัยนั้นจะขยันมาก อาจารย์สั่งงานอะไรมาไม่เกี่ยง นั่งปุ๊บทำได้ เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีสิ่งล่อตาล่อใจเยอะเหมือนกับสมัยนี้ สมัยอยู่ปี1 พี่อยู่ที่สตูดิโอตลอด เพราะว่าเราเพิ่งเข้ามาใหม่ อะไรๆก็ยังทำไม่เป็น การมาอยู่สตูดิโอ จึงช่วยได้มาก เพราะเราสามารถปรึกษารุ่นพี่ได้ หรือปรึกษากับเพื่อนๆด้วยกันได้ มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ดี ช่วยกันเรียน ช่วยกันรอด ใครหลับก็ปลุกให้ตื่นมาทำงาน ทุกคนจะเป็นห่วงกันมากๆ
สมัยนั้นการสอบตก การส่งงานไม่ตรงเวลา การมาสาย จะถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะอาจารย์เข้มงวดมากจริงๆ ตอนนั้นพี่เคยสอบตกไปวิชาหนึ่ง ถูกอาจารย์เรียกมาว่ากล่าว ตั้งแต่อาจารย์หัวหน้าภาค อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชา ไล่ไปเรื่อย แต่พี่ก็เข้าใจท่าน เพราะทุกๆท่านหวังดีอยากให้เราตั้งใจเรียน เรียนให้ดี จริงๆถึงจะดูว่าเรางานเยอะ แต่ในเรื่องของกิจกรรมต่างๆนั้น พี่ก็ทำหลายอย่างนะ ทำละคร ไม้สด ทำเชียร์ รับน้อง ที่สำคัญ กินเหล้า รวมแก๊งเฮฮาเป็นเรื่องปกติมากๆ พี่ก็เข้าร่วมกับเพื่อนๆ สนุกสนานและเป็นประสบการณ์ที่ดี ส่วนชีวิตประจำวันของพี่ หลังเลิกเรียน ประมาณ 4-6 โมงเย็น พี่ก็จะไปอยู่ห้องสมุด หาข้อมูล ดูหนังสือต่างๆ เพราะสมัยก่อนไม่ได้ง่ายเหมือนสมัยนี้ ที่มีอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คลิกๆ ก็สามารถหาได้ทุกอย่าง การหาข้อมูลแม้แต่จะทำแค่รายงานในสมัยนั้น ยังเป็นเรื่องยากเลย ถ้าหาที่ห้องสมุดเราไม่เจอ ก็ต้องนั่งรถไปหาที่ห้องสมุดจุฬาบ้าง ศิลปากรบ้าง กว่าจะได้มา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เป็นข้อหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกต้องตั้งใจในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม
หลังจากเข้าห้องสมุดแล้ว ช่วง 6 โมงถึง 2 ทุ่ม พี่ก็จะเตะบอลกับเพื่อนๆ มีเวลาออกกำลังกายบ้าง และหลังจาก 2 ทุ่มเป็นต้นไป ก็จะเป็นเวลาทำงาน เพราะกลางคืน ลาดกระบังจะเงียบมาก แทบไม่มีสิ่งหันเหความสนใจอะไรเลย เพราะไม่มีอะไรจะทำแล้วจริงๆ ก็เลยต้องทำงาน ถ้าว่างมาก พวกพี่ก็จะรับงานนอกมาทำ สมัยนั้นรายได้ดีมากจริงๆ เพราะอาชีพสถาปนิกยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และตลาดมีความต้องการมาก พี่เขียนภาพ perspective 1 คืน 8 รูป ได้รูปละ 5,000 บาท ตัดโมเดล 2 ตัว ได้ 60,000 บาท เรียกได้ว่า เงินหากันง่ายมากจริงๆ แทบไม่ต้องขอเงินจากที่บ้านเลย จะไปเที่ยว หรืออยากจะได้อะไร เราก็จะรับงานแบบนี้แหละ เก็บเงินกันเอง จนบางครั้งเพื่อนพี่บางคนก็ชอบที่จะทำงานนอกมากกว่างานเรียน ก็เพราะมันได้เงินดีนี่แหละ แต่เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป สภาพสังคม เศรษฐกิจ ความต้องการทางตลาดที่ลดลง และจำนวนนักศึกษาสถาปัตย์จบใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถ้าเป็นสมัยนี้คงจะไม่ได้เหมือนแบบนั้นแล้ว ”
ข้อคิดดีๆส่งท้าย ฝากถึงน้องๆสถาปนิกรุ่นใหม่
“ เราทำงานด้านนี้ ต้องมี Passion ให้มากพอ ต้องมีความรู้สึกว่าอยากทำ อยากเรียนรู้ เพราะตอนนี้ ถึงแม้จะมีคนเข้ามาเรียนคณะนี้กันมาก แต่คนที่อยากจะเป็นสถาปนิกจริงๆยังมีน้อย จากที่พี่มอง รุ่นพี่เองมีทั้งหมดประมาณ 45 คน ปัจจุบันมีเหลือที่ทำงานเกี่ยวกับสถาปัตย์ ไม่ถึง 20 คน นักศึกษาสมัยนี้ จบปีละ 2,000 กว่าคน ผ่านไป 3 ปี พี่คิดว่าจะมีคนที่ยังทำงานด้านนี้อยู่ประมาณ 1,500 คน แต่ถ้าผ่านไปสัก 10 ปี พี่ว่าเหลือแค่ประมาณ 100 กว่าคนเท่านั้น นี่แหละคือกลุ่มคนที่คิดว่า อาชีพสถาปนิก คืออาชีพที่ใช่จริงๆ เพราะต้องบอกเลยว่า เหนื่อยแน่ๆ ต้องมีความรับผิดชอบสูง แต่ชีวิตจริง ไม่ว่าอาชีพไหน ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันง่ายๆ ก็ต้องใช้ความขยัน อดทน ทำงานด้วยใจรักกันทั้งนั้น รุ่นพี่หลายๆคน ก็เลือกทางเดินอื่น มีทั้งที่ยังเกี่ยวข้องกับแวดวงสถาปนิก และที่ไม่เกี่ยวข้องเลยก็มี เพื่อนพี่บางคน ไปขายปลาหมึก รวยไปแล้วก็มี มีสามีเป็นฝรั่ง ตอนนี้เป็นแม่บ้าน อยู่สบายๆไปแล้วก็มี ทั้งหมดมันขึ้นอยู่ที่ตัวเราจะเลือก เราจะทำอะไรก็ได้ แต่ขอให้ทำแล้วเรามีความสุขและสนุกไปกับมัน พี่ว่าก็เพียงพอแล้ว ”
พ.ศ.2533 เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พ.ศ.2538 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศึกษาต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ปี
พ.ศ.2544 จบการศึกษาปริญญาโท ที่นิวยอร์ค มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สาขา Urban Design
ประสบการณ์การทำงาน
- บริษัท สถาปนิกหนึ่งร้อยสิบ จำกัด เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง
- คุมงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย เรือนไทยหมู่ 1 ปี
- เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยบางมด 3 ปี
- ทำงานที่แคลิฟอร์เนีย ออกแบบอาคารบ้าน และดูแลรักษาปรับปรุง อุทยานแห่ง ชาติของที่อเมริกา 1 ปี
- ทำงานที่บริษัท บุนนาค อาร์คิเท็คส์ จำกัด 1 ปี
- ปัจจุบันเป็นเจ้าของร่วมกับคุณจงรักษ์ พฤกษ์ประเสริฐ ที่บริษัท JP Architects and Associates Ltd. และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)
ตัวอย่างผลงาน
MASTER PLANNING
LAGUNA VILLAGE HOUSING PHASE
HOSPITALITY
BANYAN TREE RESORT PHASE I & II (2 BR VILLA)
Phuket, Thailand

MAGGIA RESIDENCE,Samui, Thailand
ADAMAS (AURA RESORT & SPA)
Phuket, Thailand

COMMERCIAL
ANDAMAN BAZAAR
Phuket, Thailand

ADAMAS (AURA RESORT & SPA)
ข้อคิดสำคัญในการทำงาน การปฏิบัติตนในวิชาชีพสถาปนิกที่ดีในทัศนคติของพี่โอม
ขยัน อดทน
“ ต้องเป็นคนที่ขยัน อดทน แต่อย่าขยันแบบโง่ๆ!!นะ ต้องขยันแล้วเกิดประโยชน์ และเวลาทำงานก็ต้องจริงจังเพราะ วันนี้เราทำงาน เราเอาความสามารถมาแลกกับเงิน ไม่เหมือนกับการขอเงินพ่อแม่ ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ได้ เล่นๆก็ได้ ชีวิตจริงไม่มีใครใจดีขนาดนั้นหรอก "
อ่อนน้อม ใฝ่รู้
“ ต้องพยายามเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พัฒนาตัวเองอยู่ตลอด ”
ซื่อสัตย์
“ อย่าทำสิ่งที่ผิดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพเรา เพราะอาจโดนริบใบประกอบวิชาชีพได้ แค่ทำให้ถูกต้องเท่านั้น “
ตรงต่อเวลา
“ เรื่องการรักษาเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานจริง เพราะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และในอนาคตหากเราต้องการก้าวหน้าในวิชาชีพ เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้องด้วย “
“ สำหรับน้องๆที่จบใหม่ พี่แนะนำว่า ถ้าเราได้ไปทำงานที่ออฟฟิสใหญ่ๆ จะดีมาก เพราะเขาจะมีระบบในการช่วยเทรน เราจะได้รู้ว่างานจริงๆต้องทำอะไร มีวิธีการอย่างไร แต่ถ้าเราจบมาใหม่ๆไปอยู่ออฟฟิสเล็กๆ ส่วนใหญ่เขาจะไม่มีเวลามาสอนเรา เพราะคนมีจำกัด อย่างน้อยเราต้องมีประสบการณ์สัก 1-2 ปี ให้สามารถทำงานได้แบบไม่ติดขัด แต่ถ้าเราอยากทำจริงๆ เราจะต้องขยันเรียนรู้ และต้องเก่งให้ได้เร็วๆ ทำให้ได้หลายๆอย่าง เพราะถ้าเราถนัดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บางทีเราอาจจะได้ทำแต่งานด้านนั้น ไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำงานด้านอื่นๆเท่าไหร่ ซึ่งทักษะเราอาจจะพัฒนาได้ช้ากว่า แต่ก็อยู่ที่ความตั้งใจจริงของเราด้วย และที่สำคัญ อย่าเพิ่งไปรับงานเอง เพราะในกระบวนการทำงาน ยังมีอะไรอีกมากที่เราต้องเรียนรู้ เราควรจะมีประสบการณ์ในการทำงานก่อน ซึ่งจะทำให้การทำงานของเราเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยลง จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเอง และลูกค้าของเรา เพราะชีวิตจริง เราต้องทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ “
ชีวิตสมัยที่เรียน ณ ลาดกระบัง
“ การเดินทางไปลาดกระบังนั้นยากมาก มีแต่ทุ่งนาสองข้างทาง เวลากลับดึกๆก็ไม่เคยจะมีรถอยากเข้ามาส่งเพราะทั้งไกลทั้งมืด ออกแนวเปลี่ยวๆ สมัยนั้นการเดินทางส่วนมากจะใช้รถไฟ บางครั้งพี่กลับดึกๆไม่มีรถ บางทีพี่ก็ต้องรอรถไฟจนถึงเช้า ใช้ชีวิตเรียบง่าย เรียกได้ว่า เหมือนอยู่ชนบทเลย สิ่งบันเทิงใจดีที่สุดอย่างมากก็คือทีวี โทรศัพท์มือถือสมัยนั้นก็ยังไม่มี จะมีก็มีแต่สาธารณะ จะไปซื้อของพี่ก็ไปที่เซเว่น ตรงซอยจินดานั่นแหละ คือห้างของพวกพี่ หรูที่สุดในย่านนี้แล้ว จะไปเที่ยวผับบาร์ แถวๆนี้ ก็ไม่ค่อยมี ถ้าไปก็ต้องนั่งรถไกล ใช้เงินมากอีก ส่วนมากเลยอยู่กันแต่ในคณะ และเพราะคนน้อยด้วย ใครทำอะไรก็จะรู้ถึงกันหมด เป็นสังคมที่ดูแลกันเหมือนพี่น้อง
นักศึกษาในสมัยนั้นจะขยันมาก อาจารย์สั่งงานอะไรมาไม่เกี่ยง นั่งปุ๊บทำได้ เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีสิ่งล่อตาล่อใจเยอะเหมือนกับสมัยนี้ สมัยอยู่ปี1 พี่อยู่ที่สตูดิโอตลอด เพราะว่าเราเพิ่งเข้ามาใหม่ อะไรๆก็ยังทำไม่เป็น การมาอยู่สตูดิโอ จึงช่วยได้มาก เพราะเราสามารถปรึกษารุ่นพี่ได้ หรือปรึกษากับเพื่อนๆด้วยกันได้ มีอะไรก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ดี ช่วยกันเรียน ช่วยกันรอด ใครหลับก็ปลุกให้ตื่นมาทำงาน ทุกคนจะเป็นห่วงกันมากๆ

หลังจากเข้าห้องสมุดแล้ว ช่วง 6 โมงถึง 2 ทุ่ม พี่ก็จะเตะบอลกับเพื่อนๆ มีเวลาออกกำลังกายบ้าง และหลังจาก 2 ทุ่มเป็นต้นไป ก็จะเป็นเวลาทำงาน เพราะกลางคืน ลาดกระบังจะเงียบมาก แทบไม่มีสิ่งหันเหความสนใจอะไรเลย เพราะไม่มีอะไรจะทำแล้วจริงๆ ก็เลยต้องทำงาน ถ้าว่างมาก พวกพี่ก็จะรับงานนอกมาทำ สมัยนั้นรายได้ดีมากจริงๆ เพราะอาชีพสถาปนิกยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก และตลาดมีความต้องการมาก พี่เขียนภาพ perspective 1 คืน 8 รูป ได้รูปละ 5,000 บาท ตัดโมเดล 2 ตัว ได้ 60,000 บาท เรียกได้ว่า เงินหากันง่ายมากจริงๆ แทบไม่ต้องขอเงินจากที่บ้านเลย จะไปเที่ยว หรืออยากจะได้อะไร เราก็จะรับงานแบบนี้แหละ เก็บเงินกันเอง จนบางครั้งเพื่อนพี่บางคนก็ชอบที่จะทำงานนอกมากกว่างานเรียน ก็เพราะมันได้เงินดีนี่แหละ แต่เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป สภาพสังคม เศรษฐกิจ ความต้องการทางตลาดที่ลดลง และจำนวนนักศึกษาสถาปัตย์จบใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ถ้าเป็นสมัยนี้คงจะไม่ได้เหมือนแบบนั้นแล้ว ”
ข้อคิดดีๆส่งท้าย ฝากถึงน้องๆสถาปนิกรุ่นใหม่
“ เราทำงานด้านนี้ ต้องมี Passion ให้มากพอ ต้องมีความรู้สึกว่าอยากทำ อยากเรียนรู้ เพราะตอนนี้ ถึงแม้จะมีคนเข้ามาเรียนคณะนี้กันมาก แต่คนที่อยากจะเป็นสถาปนิกจริงๆยังมีน้อย จากที่พี่มอง รุ่นพี่เองมีทั้งหมดประมาณ 45 คน ปัจจุบันมีเหลือที่ทำงานเกี่ยวกับสถาปัตย์ ไม่ถึง 20 คน นักศึกษาสมัยนี้ จบปีละ 2,000 กว่าคน ผ่านไป 3 ปี พี่คิดว่าจะมีคนที่ยังทำงานด้านนี้อยู่ประมาณ 1,500 คน แต่ถ้าผ่านไปสัก 10 ปี พี่ว่าเหลือแค่ประมาณ 100 กว่าคนเท่านั้น นี่แหละคือกลุ่มคนที่คิดว่า อาชีพสถาปนิก คืออาชีพที่ใช่จริงๆ เพราะต้องบอกเลยว่า เหนื่อยแน่ๆ ต้องมีความรับผิดชอบสูง แต่ชีวิตจริง ไม่ว่าอาชีพไหน ก็ไม่ใช่ว่าจะทำกันง่ายๆ ก็ต้องใช้ความขยัน อดทน ทำงานด้วยใจรักกันทั้งนั้น รุ่นพี่หลายๆคน ก็เลือกทางเดินอื่น มีทั้งที่ยังเกี่ยวข้องกับแวดวงสถาปนิก และที่ไม่เกี่ยวข้องเลยก็มี เพื่อนพี่บางคน ไปขายปลาหมึก รวยไปแล้วก็มี มีสามีเป็นฝรั่ง ตอนนี้เป็นแม่บ้าน อยู่สบายๆไปแล้วก็มี ทั้งหมดมันขึ้นอยู่ที่ตัวเราจะเลือก เราจะทำอะไรก็ได้ แต่ขอให้ทำแล้วเรามีความสุขและสนุกไปกับมัน พี่ว่าก็เพียงพอแล้ว ”
ขอขอบคุณ
คุณวศิน ธรรมานุบาล (พี่โอม)
ที่ได้สละเวลาอันมีค่า เพื่อให้ความรู้และแนวคิดดีๆ แก่รุ่นน้องคนนี้
จะพยายามปฏิบัติในสิ่งดีที่พี่สอนไว้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ
พี่พัน
พี่รหัสสุดหล่อใจดี ขอบคุณพี่พันที่ช่วยติดต่อแนะนำรุ่นพี่ให้นะคะ
เรียบเรียงโดย
นางสาวธันย์ชนก ดำรงศักดิ์ 52020037
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สัมภาษณ์วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 16.30-18.00 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น