ที่ตั้ง
เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร
กรุงเทพฯ
ประวัติ
วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นพระอารามชั้นตรีชนิดวรวิหาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี (ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครมเหสีองค์แรกของรัชกาลที่
4 มีพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี) จึงทรงพระราชทานนามว่าวัดราชนัดดาราม เมื่อ ปีพ.ศ.2386
วัดนี้จัดว่าเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีคุณค่ามากอีกวัดหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
โดยช่างผู้ชำนาญในสมัยรัชกาลที่ 3
โดยทรงโปรดให้เจ้าพระยายมราช (บุญนาค) เป็นผู้ออกแบบแผนผังการสร้างวัด กำกับการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร
และศาลาการเปรียญ เจ้าพระยาศรีพิพิฒน์ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโลหะปราสาท
พระยามหาโยธาเป็นผู้สร้างกุฏิสงฆ์ พร้อมทั้งกำแพงและเขื่อนรอบๆวัด
แต่เดิมโลหะปราสาทไม่ได้ตั้งเด่นเป็นสง่าเมื่อผ่านมาทางถนนราชดำเนินเหมือนในปัจจุบัน
เพราะมีการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย หัวมุมถนนราชดำเนิน ในสมัยจอมพล
ป.พิบูลสงคราม เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ.2532
จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย
เพื่อเปิดมุมมองทางเข้าเกาะรัตนโกสินทร์จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อสร้างเป็น ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
พื้นที่โดยรอบเป็นลานกว้าง จัดสร้างพลับพลาที่ประทับ
เพื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมือง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ
พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงไทยจั่วซ้อน 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินและสีเหลือง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางาหงส์ ที่ชั้นลด หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกันคือหน้าบันสลักไม้ลายใบเทศ มีการออกลายให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสามเหลี่ยมหน้าบัน โดยใช้ดอกลายเป็นตัวเชื่อม ส่วนล่างหน้าบันสลักเป็นลายกระจังปฏิญาณ ลายประจำยามกล้ามปู และลายกระจังรวน การทำหน้าบันสลักไม้ในสมัยรัชกาลที่ 3 มักสลักเป็นภาพนูนต่ำลงรักปิดทองกระจกสี ประดับกระจกสี ปิดทองบานประตู หน้าต่าง ด้านนอกเป็นลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ กลางดอกลายเทพพนม บานประตูหน้าต่างด้านในและส่วนลึกของประตูเป็นภาพเขียนสีลายทวารบาลส่วนลึกของบานหน้าต่างเป็นภาพรามเกีรติ์และอดีตชาติของพระพุทธเจ้า บานหน้าต่างด้านในเป็นรูปเทพต่างๆ ฐานพระอุโบสถยกพื้น 2 ชั้น ฐานชั้นแรกตั้งเสาระเบียงรองรับเชิงชายหน้าจั่วและหลังคา เสาเป็นเสาเหลี่ยมลบมุมไม่มีลวดลายที่ปลายเสา มีระเบียงรอบพระอุโบสถ ปลายบันไดประดับด้วยสิงโตหิน
พระวิหาร เป็นอาคารทรงโรง สูงใหญ่ขนาดไล่เลี่ยกับพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน หลังคาซ้อน 2 ชั้น มี 3 ตับ ตับล่างเป็นปีกนกรอบ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ด หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกันคือ ลายดอกพุดตาน ประดับด้วยกระจกสีปิดทอง เช่นเดียวกับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นดอกพุดตานปิดทองที่ดอกลาย บานประตูหน้าต่างมีภาพเขียนสี ฐาน 2 ชั้น ภายในมีภาพเขียนที่เพดานและผนัง เพดานมีลายดาวและผีเสื้อ ฝาผนังมีลายเขียนสีดอกไม้ร่วง เช่น ดอกพุดตาน ดอกลำดวน เป็นต้น
ศาลาการเปรียญ ลักษณะอาคารสูงใหญ่เช่นเดียวกับพระวิหาร
ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องลด 3 ชั้น มีช่อฟ้า
ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเขียนลายปูนปั้นปิดทอง
ฐาน 2 ชั้น ภายในมีภาพเขียนสีที่เพดานและผนัง
ผนังเป็นลายดอกไม้ร่วง ได้นำพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวลักษณะเดียวกับพระบรมรูปหล่อในปราสาทพระเทพบิดรในพระบรมมหาราชวัง
โลหะปราสาท : เอกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมไทย
ที่คงเหลือเพียงแห่งเดียวในโลก
พ.ศ.2389 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สร้างโลหะปราสาท เป็นอาคารประธานของวัด สันนิษฐานว่า ใช้เป็นที่สำหรับพระภิกษุใช้จำพรรษาหรือปฏิบัติธรรม ได้รับการยกย่องว่าเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ 3 ของโลก แห่งแรกอยู่ในประเทศอินเดีย แห่งที่ 2 อยู่ในประเทศศรีลังกา ทั้งสองแห่งได้ถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันเหลืออยู่ ณ วัดราชนัดดาราวรวิหารเพียงแห่งเดียวเท่านั้น
สืบคติการสร้างโลหะปราสาทจากศรีลังกา
สะท้อนคุณค่าสถาปัตยกรรมไทย
คำพรรณนาถึงโลหะปราสาทของศรีลังกาในหนังสือมหาวงศ์
เป็นแรงบันดาลพระราชหฤทัย ให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาเจษฎาราชเจ้า มีพระราชศรัทธาแรงกล้าในการสร้างพุทธเจดีย์โลหะปราสาทนี้
บนผืนแผ่นดินไทย เพื่อประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า
แผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินแห่งพระพุทธศาสนาที่มั่นคง
โลหะปราสาทนี้มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามโลหะปราสาทที่เมืองลังกา ส่วนลักษณะสถาปัตยกรรมสร้างตามแบบศิลปกรรมไทย ถือเป็นพุทธศิลปสถาปัตยกรรมอันเป็น “เอก” แห่งหนึ่งในสถาปัตยกรรมไทยทั้งหมด โดดเด่นด้วยอาคารขนาดสูงใหญ่ 7 ชั้น ลดลั่นกันขึ้นไป อาคารชั้นล่าง ชั้นที่ 3 และชั้นที่ 5 เป็นคูหาและระเบียงรอบ ส่วนชั้นที่ 2 ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 6 ทำเป็นคูหาจัตุรมุขมียอดเป็นบุษบกชั้นละ 12 ยอด และ ชั้นที่ 7 เป็นยอดปราสาทจัตุรมุขสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ รวมเป็น 37 ยอด ซึ่งหมายถึง พระโพธิปักปิยธรรม หัวข้อธรรมโนพุทธศาสนา 7 หมวด 37 ประการ เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการ “ตรัสรู้”
ยอดบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานและเสด็จมาบรรจุ วันที่ 27 ก.พ. 2538 ในพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี การขึ้นสู่ปราสาทแต่ละชั้น จะมีบันไดวนตั้งอยู่ตรงกลางโลหะปราสาท โดยใช้ซุงขนาดใหญ่ยึดเป็นแม่บันไดตั้งแต่พื้นล่างตลอดจนถึงชั้นบน นับแต่ขั้นบันไดจนรอบต้นซุงได้ 67 ขั้น
ข้าพเจ้าคิดว่า
สถาปัตยกรรมนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์บางอย่างเท่านั้น
แต่ยังสามารถบรรจุเรื่องราวทั้งประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ที่บ่งบอกแนวความคิด
ความเชื่อ ความศรัทธา ที่มนุษย์มีในช่วงเวลานั้นๆ สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในตัวเอง
แม้กาลเวลาจะผ่านเลยไปกี่ร้อยกี่พันปีก็ตาม สถาปัตยกรรมนั้นไม่เคยหลับใหล
และวัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่งดงามไม่เคยเสื่อมคลาย
และมีคุณค่าอย่างยิ่ง เพื่อเตือนใจถึงความศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนา
ควรค่าแก่การรักษา เพื่อสืบทอดเป็นมรดกแก่ประเทศไทยของเราต่อไป

ภาพประกอบถ่ายด้วยตนเอง
และบางส่วนจาก :
http://kongzzar.multiply.com/photos/album/73/Wat-Ratchanaddaram# ,วันที่ 12/02/2556
ข้อมูลบางส่วนค้นคว้าด้วยตนเองจากพิพิธภัณฑ์โลหะปราสาท
และอ้างอิงจาก :
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจโบราณสถานในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : งานผังรูปแบบ
ฝ่ายอนุรักษ์โบราณ
สถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.
สถาน กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2538.
ปิยมาศ สุขพลับพลา. การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมพระอารามหลวงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว : กรณี
ศึกษาวัดเทพธิดารามวรวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
โลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538.
วัดราชนัดดาราม สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2556 จาก http://kongzzar.multiply.com/photos/album/73/Wat-Ratchanaddaram# ,วันที่ 12/02/2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น